ต้นกำเนิด "พุทธศาสนา" ก็คือ "ประเทศอินเดีย” ชาวพุทธศาสนิกชนอย่างเราๆ ต่างก็อยากไปเยือนกันสักครั้ง วันนี้ "กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว" ถือโอกาสอันดีที่ “สายการบินไทยสมายล์” เชื้อเชิญให้ไปร่วมทริป ด้วยเที่ยวบินตรงลัดฟ้าสู่ “เมืองลัคเนาว์” ประเทศอินเดีย อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งทริปเดินทางแสวงบุญในครั้งนี้....
การเดินทางไปกับสายการบิน "ไทยสมายล์" ได้รับบริการอย่างอบอุ่น
พนักงานใส่ใจให้บริการกันอย่างเต็มที่ (อยากบอกว่า แอร์โฮสเตส..น่ารักมากครับ) อาหารที่ให้บริการบนเครื่อง รสชาติดี กินเรียบเลยครับ พอทานอาหารอร่อยๆ อิ่มท้อง ขอหลับสักงีบ เดินทางกันแบบชิลล์ๆ ใช้เวลาประมาณ 3.30 ชั่วโมง เท่านั้น
เมื่อเดินทางถึงที่หมาย "เมืองลัคเนาว์" ประเทศอินเดีย ประมาณ เที่ยงคืนกว่าๆ ก็ได้เช็คอินที่โรงแรม "RENAISSANCE HOTEL" ที่พักสบาย..อาหารพร้อม ถือว่าได้พักผ่อนให้สดชื่นก่อนเที่ยวในวันถัดไป โดยเป้าหมายแรกของทริป จะเดินทางสู่ “เมืองสาวัตถี” ต้องบอกเพื่อนๆ ก่อนนะครับว่าเวลาในประเทศอินเดีย ช้ากว่าประเทศไทย 1.30 ชั่วโมง ดังนั้นควรปรับนาฬิกาตามเวลาในพื้นที่
ต้อนรับเราด้วยลูกประคำ ถือว่าแปลกดีครับ
สำหรับเมือง "สาวัตถี" เป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีความสำคัญทางพุทธศาสนา เนื่องจากมีสถานที่สำคัญๆ หลายแห่ง อาทิ สถานที่แสดงยมกปฎิหารย์สกูป, วัดเซตวันมหาวิหาร, พระมูลคันธกุฏิ เป็นต้น โดยในการเดินทางจากเมือง “ลัคเนาว์” สู่เมือง “สาวัตถี” ด้วยมินิบัส ใช้ประมาณ 4 ชั่วโมง ระหว่างเดินทางสู่เมืองสาวัตถี เราก็ได้พบวิถึชีวิตของคนท้องถิ่นตามถนนหนทาง ดูจอแจ..วุ่นวายเล็กๆ เสียงแตรรถดังม๊ากกก อยู่ตลอดเวลา คนที่นี่ บีบแตรกันเป็นว่าเล่น จากที่สังเกตุดู คนอินเดียมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างเร่งรีบ ซึ่งผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันครับว่า..เค้าจะรีบไปไหนกัน เอาเป็นว่าเรื่องของเค้า ตอนนี้กลับมาเรื่องของเราดีกว่าครับ
วัดเชตวันมหาวิหาร หรือสาเหต (Sahet)
พระอารามหลวงแห่งองค์พระศาสดา
วัดเชตวันมหาวิหาร หรือ สาเหต (Sahet) พระอารามหลวงแห่งองค์พระศาสดา แห่งเมืองสาวัตถี เป็นอีกวัดที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวัดที่พระพุทธองค์จำพรรษาถึง 19 พรรษา บริเวณหน้าวัดแห่งนี้ เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ๆ พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ ส่วนภายในวัดมีต้นโพธิ์ชื่อ "อานันทโพธิ์" เป็นต้นโพธิ์ที่ปลูกโดยพระอานนท์ ในสมัยพุทธกาลนั่นเอง
พระมูลคันธกุฎี
พระมูลคันธกุฎี เป็นกุฏิของพระพุทธเจ้า ได้รับการขุดค้นและปรับแต่งภูมิทัศน์เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีกุฏิของ พระสารีบุตร, พระโมคคัลลานะ และ องคุลีมาล ตอนที่บวชเป็นภิกษุ ณ วัดเชตวัน แห่งนี้
กุฏิพระสิวลี
"อานันทโพธิ์" ต้นโพธิ์ที่ปลูกโดยพระอานนท ์ในสมัยพุทธกาล นำเมล็ดพันธุ์มาจากต้นพร ะศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ อายุอานามไม่มากเท่าไหร่ครั บ เพียง 2500+ กว่าปีเท่านั้น ถือเป็นต้นโพธิ์ที่อายุยืนย าวมาก
ใครที่ไปห้ามเด็ดใบโพธิ์นะค รับ แต่ที่ได้มา
เพราะลมพัดร่วงลงม า..ถือเป็นบุญจริงๆ
เพราะลมพัดร่วงลงม
บ้านของ"อนาถบิณฑิกเศรษฐี"
เดินทางออกจากวัดเชตวันมหาว ิหาร ไม่ไกลเท่าไหร่นัก เราก็จะพบ "บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี" มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี ผู้ที่ใช้เงินส่วนตัวซื้อที่สร้างวัด "เชตวันมหาวิหาร" เพื่อถวายแด่องค์พระบรมศาสดา
หลังจากเดินทางเที่ยวชมวัดเชต "วันเชตวันมหาวิหาร" แห่งเมืองสาวัตถี แม้ว่าจะได้เห็นเพียงซากประหลักหักพัง ซึ่งผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน แต่สิ่งที่สัมผัส คือความเลื่อมใสศรัทธา อันเป็นความยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนา และคุ้มค่าต่อการมาเยือนอย่างแท้จริง
"สถานที่ประสูติของพระบรมศาสดา"
ลุมพินี่สถาน เมืองไภรวา ประเทศเนปาล
ปัจจุบันลุมพินีวันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนประเทศอินเดีย อยู่ทางเหนือเมืองโคราฆปุระ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ ลุมพินีวัน มีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ เป็นที่ตั้งของ "วิหารมายเทวี" สถานที่ประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งภายในวิหารจะมี "รูปปั้นของพระนางมายาเทวี" ขณะกำลังให้กำเนิดเจ้าชายสิทธัตถะ และรูปรอยพระบาทของเจ้าชายสิทธัตถะส่วนภายนอกเป็นที่ตั้งของ "เสาหินพระเจ้าอโศก" ที่จารึกว่า สถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ และมี "สระโบกขรณี" อยู่ที่ด้านหลังของวิหารมายเทวี
"สระโบกขรณี" ด้านหลังของวิหารมายเทวี
เสาหินพระเจ้าอโศก
อักษรพราหมณ์จารึกว่าสถานที่แห่งนี้
เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ
เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ
พระพุทธเจ้าน้อย หน้าทางเข้าลุมพินีสถาน
กุสินารา สถานที่ดับขันธปรินิพพาน
แห่งพระศาสดา
เช้านี้ คณะเดินทางแสวงบุญตามรอยพระบาทที่ยาตรา...แห่งองค์พระพุทธศาสนากับสายการบินไทยสมายล์ (Thai Smile) ได้ตื่นกันแต่เช้า เพื่อออกเดินทางสู่จุดหมายต่อไป นั่นก็คือ "เมืองกุสินารา"
รถคันเก่งของเราครับ
ถนนหนทาง ยังเป็นทางลูกรัง
ด่านข้ามแดนอินเดีย-เนปาล
ชายสามหยด เค้าคอนเฟิร์มว่าอร่อยเด็ดจริงๆครับ
เหมาคนเดียวทั้งจานเลย
เหมาคนเดียวทั้งจานเลย
"พระพุทธรูปปางปรินิพพาน"
ณ วิหารปรินิพพาน
ณ วิหารปรินิพพาน
เดินทางมาถึง "เมืองกุสินารา"
ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ
อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมือง ปาวา เป็นที่ตั้งของ "สาลวโนทยาน" หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ปัจจุบัน "กุสินารา" มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือ "สถูปใหญ่" ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนวิหารปรินิพพาน เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปางปรินิพพาน โดยรอบๆ จะมีซากศาสนสถานโบราณอยู่มากมาย
พระพุทธรูปปางปรินิพพาน เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัย
คุปตะ(พุทธศักราช 823-1093) โดยช่างฝีมือชาวมธุรา มีขนาดยาวประมาณ 7 เมตร สูงประมาณ 1 เมตร ประดิษฐานบนแท่นจุณศิลา
ทำจากทรายแดงของเมืองจุนนะ
ที่พระบาทของพระพุทธรูปมีรอยรูปธรรมจักร
ใบหน้าของพระพุทธรูปยังคงสดใส แสดงให้เห็นว่า
เปรียบเสมือนพระพุทธเจ้าพึ่งจะทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานไปเมื่อไม่นานมานี้เองครับ
เปรียบเสมือนพระพุทธเจ้าพึ่งจะทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานไปเมื่อไม่นานมานี้เองครับ
"มกุฏพันธนเจดีย์" สถานที่ทำพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
"มกุฏพันธนเจดีย์"
สถานที่ทำพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ซึ่งมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า
รามภาร์-กา-ฏีลา ตั้งอยู่ห่างจาก “มหาปรินิพพานสถูป" ไปทางด้านทิศตะวันออก ๑
กิโลเมตร
เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า เดิมทีเป็นเชิงตะกอนไม้จันทร์หอม
หลังจากที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ก็ได้สร้างพระสถูปครอบลง ภายหลังได้ถูกขุดค้นพบเป็นซากกองอิฐพระสถูปขนาดใหญ่
ดังที่เห็นในปัจจุบัน พระสถูปนี้วัดโดยรอบฐานได้ ๔๖.๑๔ เมตร
และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๗.๑๘ เมตร ตามหลักฐานก็เป็นที่ชัดเจนว่านั่นคือ
สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หรือ มกุฏพันธนเจดีย์ ตามที่ชาวพุทธเรียกชื่อกัน
เสร็จจาก "เมืองกุสินารา" คณะเดินทาง ได้เดินทางกันต่อเพื่อไปยัง "เมืองลัคเนาว์" ระหว่างทางก็พบเข้ากับ "นิลกาย" ซึ่งเป็นสัตว์โบราณ หรือสัตว์ในป่าหิมพานต์ ที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดี ดังอย่างพระอภัยมณี ในชื่อ "ม้านิลมังกร" ซึ่งนิลกาย จะเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ยากมาก จะมีเฉพาะที่อินเดียตอนเหนือ, ปากีสถาน และเนปาล เท่านั้นครับ
บาราอิมามบารา (Bara Imambara)
อัครมัสยิดศาสนสถานของชาวมุสลิม ที่สร้างผสมผสานกันระหว่าง ฮินดูและมุสลิม ตั้งอยู่ที่เมืองลัคเนาว์ มีความยิ่งใหญ่สวยงาม ไม่แพ้ที่ใดๆในโลก สวยซะจนถ่ายรูปกันเพลินไปเลยล่ะครับ
เดินๆอยู่ก็มีชาวอินเดียมาขอถ่ายรูปด้วย
รู้สึกเหมือนเป็นดาราขึ้นมาทันทีครับ
จัดไปหนึ่งรูปกับท่ากระโดดงามๆ
"อัมเบดการ์ เมมโมเรียล พาร์ค"
(Ambedkar Memorial Park)
"อัมเบดการ์ เมมโมเรียลพาร์ค" (Ambedkar Memorial Park) ที่นี่เหมือนเป็นสวนสาธารณะที่ไม่มีสวนครับ ไม่มีต้นไม้ แต่เป็นสิ่งปลูกสร้างที่ยิ่งใหญ่อลังการมาก เดินเก็บภาพแสงยามเย็นกับนางแบบสาวสวย ชิลล์ๆ ได้ภาพสวยๆมาเพียบครับ
ชาวอินเดียนี่ดูเค้าชอบนักท่องเที่ยวนะครับ เห็นพวกเราไม่ได้เดินมาขอถ่ายรูปกันเป็นว่าเล่นเลย ถ้ามีโอกาสครั้งหน้า
จะเก็บตังซะหน่อยคงได้หลายรูปีแน่นอน
แสงทไวไลท์ ที่ลัคเนาว์ อินเดีย
ถ่ายจากสระว่ายน้ำโรงแรมก่อนบินกลับไทย
ขอบอกว่า ลัคเนาว์ น่าเที่ยวมากครับ
การไปท่องเที่ยวตามรอยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่อินเดียในครั้งนี้ นับว่าเป็นบุญจริงๆครับที่ได้มีโอกาสไปสัมผัสด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมต่างๆ สัมผัสกับวิถีชีวิตผู้คนรอบข้าง ความเป็นศิลปะจนอยากให้ทุกคนได้ไปลองสัมผัสดูซักครั้งในชีวิตนะครับ
ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายๆ แห่งที่น่าสนใจ และรอคอยให้นักเดินทาง ผู้แสวงหาความเป็นศิลปะ ความมีเสน่ห์ ที่รวมๆ กันแล้วเย้ายวนใจมากพอให้ไปสัมผัสอย่างแน่นอน
ในท้ายที่สุดของการ "ตามรอยพระบาทที่ยาตรา...แห่งองค์พระศาสดา" ในครั้งนี้ "กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว" รู้สึกว่า เป็นช่วงเวลาที่ คุ้มค่าอย่างมาก ต้องขอขอบพระคุณ สายการบิน "ไทยสมายล์" ผู้สร้าง "รอยยิ้มคู่ฟ้า" ที่ทำให้แรงบันดาลใจ ในการเดินทางแสวงบุญในครั้งนี้ ได้ทั้งบุญ ได้สัมผัสกับวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชาวอินเดีย กลายเป็นจริง สำหรับ ท่านใดที่มี แรงบันดาลใจ อยากไปท่องเที่ยวแสวงบุญที่ "อินเดีย" ก็สามารถไปได้อย่างสะดวกสบาย เพราะ ขณะนี้ สายการบิน "ไทยสมายล์" เปิดเที่ยวบินตรงถึงเมือง "ลัคเนาว์" ประเทศอินเดีย ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ คอลเซ็นเตอร์ 1181 หรือ 02-118-8888 หรือ เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaismileair.com และสุดท้ายนี้ต้องขอบคุณภาพสวยๆ จากทีม มีเดียแอนด์บล็อกเกอร์คลับ ทุกๆท่านด้วยนะครับ ขอบคุณครับ ^.^
สุดท้ายนี้ "กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว" หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เพื่อนๆ ที่ได้อ่านบทความนี้ วันหนึ่งจะได้มีโอกาสได้ไปสัมผัส กับสิ่งที่มีเสน่ห์เหล่านี้ ณ ประเทศอินเดีย เมืองแห่งพุทธภูมิกัน และเชื่อว่า ทุกๆ คนจะประทับใจ และเก็บไว้ในความทรงจำไปอีกนานแสนนานอย่างแน่นอนครับ
Tags
ท่องเที่ยว