สวัสดีจ้าาา...ทริปนี้ กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว ขอนำเพื่อนๆ เดินทางสู่พื้นที่เหนือสุดของประเทศไทย เพื่อสัมผัสกับมุมใหม่ๆ และเปิดประสบการณ์การเรียนรู้วีถีชีวิตพื้นบ้าน ซึ่งพระราชาผู้เป็นที่รักยิ่งของพวกเรา ได้ทรงริเริ่มและวางแนวทางการพัฒนาเอาไว้....!!!
ได้เวลาล้อหมุนโลด...... จริงๆต้องยอมรับว่าการเดินทางมาล้านนาตะวันออกครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของ กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว นะครับ แต่มากี่ครั้งก็ยังรู้สึกประทับใจไม่หายจริงๆ ไม่รอช้า..เครื่องแลนดิ้งสู่ท่าอากาศยานนานาชาติเมืองเชียงราย เก็บกระเป๋ากระโดดขึ้นรถตู้ แล้วเดินทางต่อมุ่งหน้าสู่ชุมชนบ้านแซว อำเภอเชียงแสน สถานที่แรกของทริปนี้ ใช้เวลาราว 1 ชั่วโมง ในการเดินทาง...
ชุมชนบ้านแซว อำเภอเชียงแสน
จังหวัดเชียงราย
"ชุมชนบ้านแซว" ชุมชนที่กำเนิดมาจากชาวภาคอีสาน ที่ย้ายถิ่นขึ้นมาปักหลัก สร้างถิ่นฐานอยู่รวมกันมายาวนานกว่า 60 ปี ได้ผสมผสานวัฒนธรรมอีสานเข้ากับล้านนา จนเกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่ชาวบ้านกันเรียกว่า "วัฒนธรรมอีสานล้านนา" มีความเป็นเอกลักษณ์ทั้งในด้านการแต่งกาย อาหารพื้นถิ่น และศิลปะการแสดง ชุมชนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงไทย-สปป.ลาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเชิงนิเวศที่น่าสนใจ
"รถอิต๊อก" บริการพิเศษจากชาวบ้าน ที่นำพาพวกเรานั่งชมหมู่บ้านแบบยชิลล์ๆ ครับ ได้อารมณ์สุดๆ ^^
ปัจจุบันชุมชนบ้านแซว กำลังพัฒนาพื้นที่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแนววิถีชีวิตริมฝั่งโขง มีการจัดกิจกรรมล่องเรือชมบรรยากาศธรรมชาติ 2 ฝั่งแม่น้ำโขง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตผู้คนในชุมชนบ้านแซว ใครเห็นแล้วอยากมาเที่ยวที่นี่ เค้ามีบ้านพักโฮมสเตย์ บรรยากาศดีสุดๆ ให้นักท่องเที่ยวได้พักกันชิลล์ริมฝั่งแม่น้ำโขง พร้อมกิจกรรมชมวิถีชุมชน รับรองประทับใจกันแน่นอนครับ^^
แง่มๆๆ หลังชมบรรยากาศริมฝั่งโขง พอปรับสีผิวให้เป็นสีแทนนิดๆ พี่ป้าน้าอา ก็พาพวกเราไปลุยสวน ย้ำครับว่า "ลุย" ของเค้าจริงๆลุยกินอะนะครับ ฮ่าๆ คือ ลุยสวนเกษตรเสาวรส และ สวนดาวอินคา ซึ่งเป็นสวนเกษตรแบบเศษรกิจพอเพียงตามรอยพ่อ เล่นเอาสดชื่น ตาตื่นไปกับความอร่อยของเสาวรสสดๆกันไปเลย.....
ลุยสวนเสาวรสแล้ว เราก็ไปลุยต่อต่อกันที่สวนดาวอินคา กันเลยจร้าาาา ลุยกันต่อเนื่องไปเลยล่ะ!!
ใบชาถั่วดาวอินคา สรรพคุณช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด ช่วยปรับสมดุลในร่างกายให้สมบูรณ์
เดินทางเที่ยวชมชุมชนบ้านแซวมาซักพัก ท้อง กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว ก็เริ่มส่งเสียงจ๊อกๆ แสดงว่านั่นคือเวลาอาหารแล้วนั่นเอง พี่ป้าน้าอาที่นี่ ก็ไม่ทำให้ผิดหวังครับ จัดหาอาหารมาให้แบบชุดใหญ่ จะรออะไรละครับ โซ้ยโลด......
กินอาหารกันอิ่มเรียบร้อย ก็ไปขึ้นรถเดินทางสู่จุดหมายต่อไปของวันนี้กันครับ นั่นก็คือ "ชุมชนศรีดอนชัยไตลื้อ" ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง เรียกว่างีบหลับพักเอาแรง ตื่นมากะเอ๊า...ถึงแล้วจร้าา
ชุมชนศรีดอนชัยไตลื้อ
อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย
แวะชมชุมชนไทลื้อที่นี่มี "พิพิธภัณฑ์ลื้อลายคำ" บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของวัฒนธรรมไทลื้อ โดยเฉพาะศิลปะการทอผ้าของชาวไทลือ ที่มีความงดงามและเป็นเอกลักษณ์ อันเป็นภูมิปัญญาของชาวชุมชนที่ยังคงรักษาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา
เสร็จจากเยี่ยมชม "พิพิธภัณฑ์ลื้อลายคำ" ชาวบ้านก็พาพวกเราไปชมการแสดงจากชนเผ่าไทลื้อ ดูการแสดงวิธีทอผ้าตามแบบฉบับชาวไทลื้อให้พวกเราได้ชม
น่ารักแอ๊บแบ้วไหมละค๊ะ.......
หลังจากท้องอิ่ม!! และได้รับความรู้เกี่ยวกับชาวไทลื้อกันไปแล้ว กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว ขอมุ่งหน้าสู่สถานนีถัดไป คือ "ชุมชนปงใหม่"
ชุมชนปงใหม่ อำเภอภูซาง
จังหวัดพะเยา
จังหวัดพะเยา
ชุมชนปงใหม่ ชุมชนตามรอยพ่อด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ชีวิตกันแบบเรียบง่ายตามวีถีชาวบ้าน มาที่นี่ เราได้ชมการสีข้าวกล้องด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน จากนั้น ป้าๆ น้าๆ ก็ได้เตรียมเซอร์ไพรส์พิเศษเป็นการแสดงระบำกลองยาวให้พวกเราได้ชมเพลินกันไปเลย.....
ตะวันเริ่มลาลับขอบฟ้า กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว ต้องนั่งรถกลับเข้ามาพัก ณ ตัวอำเภอเชียงคำ....เพื่อเก็บแรงไว้ลุยต่อในวันที่สอง
รร.ฝายกวางวิทยาคม จ.พะเยา
โรงเรียนฝายกวางวิทยาคม จังหวัดพะเยา โรงเรียนต้นแบบเดินตามรอยพระราชา เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาการศึกษา ตามศาสตร์พระราชา ในโรงเรียนมีความหลายหลายทางวัฒนธรรมชนเผ่า ของอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ในโอกาศที่มาเยือน ทางโรงเรียนได้จัดการแสดง 5
ชาติพันธุ์ โดยนักเรียนฝายกวางวิทยาคม ให้ชาวชาวคณะผู้มาเยือนได้ชื่นชม
คุณสุทัศษา เหล่าหงษ์เกียรติ นายกสมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทย และ Media&Blogger Club ร่วมกิจกรรมมอบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการศึกษาแก่โรงเรียนฝายกวางวิทยาคม จังหวัดพะเยา โดยมี คุณมานะ พิริยพัฒนา ผู้อำนวยการโรงเรียนฝายกวางวิทยาคม จังหวัดพะเยา เป็นตัวแทนรับมอบ
โรงเรียนฝายกวางวิทยาคม ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สอนให้เด็กๆชาวเขาได้มีวิชาชีพติดตัว หลังเรียนจบออกไปแล้วสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ในอนาคต
เด็กชาวเขาบางส่วนพักอาศัยอยู่ในโรงเรียน
ในโรงเรียนมีสวนกาแฟและร้านกาแฟที่บริหารจัดการโดยนักเรียน และคุณครูเพื่อนสอนอาชีพให้น้องๆ ร้านกาแฟดูน่ารัก กาแฟรสชาติดียังกับบาริสต้ามือาชีพมาชงให้กินเลย.... ^^
หลังจากเยี่ยมชม โรงเรียนฝายกวางวิทยาคม ให้พอสดชื่นหัวใจ กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว รีบขึ้นรถมุ่งหน้าสู่ ชุมชนบ้านหนองกลาง ต่อไป ใช้เวลาเดินทางอีก ราวๆ 1 ชั่วโมง
ชุมชนบ้านหนองกลาง
อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
พอมาถึง ชุมชนบ้านหนองกลาง ได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์เชียงม่วน มีซากไดโนเสาร์ซอโรพอด มีคอยาวและหางยาว เดิน 4 ขา และกินพืชเป็นอาหาร นับเป็นไดโนเสาร์ตัวแรกที่ค้นพบในภาคเหนือ
ต่อจากนั้น พักกินอาหารเที่ยง เอร็ดอร่อยกับอาหารพื้นถิ่นภาคเหนือ บอกเลยครับว่าอร่อยมากๆ
อิ่มท้องแล้วก็พร้อมลุยกันต่อเลยครับ ไปเที่ยวจุดล่องแก่งของอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง "แก่งหลวง" ไฮไลท์อีกแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวสายแอ๊ดเวนเจอร์ไม่ควรพลาด!! เพราะถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเชิงนิเวศที่น่าสนใจ อีกแห่งหนึ่งของชุมชน
พระธาตุภูปอ
อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
หลังจากดื่มด่ำกับธรรมชาติ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อมกิจกรรมแอ๊ดเวนเจอร์มันส์ๆ ไปเป็นที่เรียบร้อย กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว รีบขึ้นรถมุ่งหน้าสู่จุดหมายต่อไป "ชุมชนทุ่งโฮ้ง" อำเภอทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่" ใช้เวลา ราวๆ 2 ชั่วโมง ได้เวลาปิดหนังตาพักเอาแรงบนรถตู้คันเก่งของเราในทริปนี้ครับ
ศูนย์การเรียนรู้ การย้อมผ้าจากต้นฮ่อม
เรียนรู้การย้อมผ้ามัดย้อมจากต้นฮ่อม ด้วยวิธีตามภูมิปัญญาชาวบ้าน
ต้นฮ่อม |
ชุมชนไทรย้อย
อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
บ้านไทรย้อย ต.ไทรย้อย อ.เด่นชัย จ.แพร่ ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อ มีของดีของชุมชน อาทิ กลอยทอด กลอยนึ่ง เครื่องจักรสาน แหนม เป็นต้น นอกจากนี้ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ยังมีที่พักแบบโฮมสเตย์ให้บริการ คิดแค่คนละ 300 บาทเท่านั้น ราคานี้ รวมอาหารเช้า ข้าวต้ม กาแฟ และวิวสวยๆ ที่หาซื้อที่ไหนไม่ได้
ตะวันเริ่มลาลับขอบฟ้า กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว ต้องนั่งรถกลับเข้ามาพักที่ตัวเมืองน่าน...พักเอาแรงอีกครั้ง ก่อนออกตะลุยเมืองน่านต่อในวันสุดท้ายของทริปนี้
เช้าที่สดใส กับบรรยากาศสบายๆของจังหวัดน่าน หลังจากกินอาหารเช้าที่โรงแรมเรียบร้อยแล้ว ล้อรถก็เริ่มหมุนออกเดินทางสู่ อ.เชียงกลาง จ.น่าน ใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 2 ชัวโมง ต้องมาเปลี่ยนรถใหม่ เพื่อเดินทางต่อไปสู่ชุมชนห้วยพ่าน ชุมชนการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนธรรมชาติ
ถึงแล้วเราต้องเดินข้าวสะพานแขวน เพื่อข้ามไปยังตัวหมู่บ้านครับ
แม่น้ำน่าน แม่น้ำสายหลักของจังหวัดน่าน ช่วงนี้ฝนตกเยอะ น้ำเลยแดง ตัดกับท้องฝ้าสีฟ้าสดก็ดูสวยไปอีกแบบนะครับ
ชุมชนห้วยพ่าน
อำเภอเชียงกลางจังหวัดน่าน
อำเภอเชียงกลางจังหวัดน่าน
ชุมชนห้วยพ่าน ชุมชนที่เน้นการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนธรรมชาติ โดยมีศูนย์การเรียนรู้ด้วยดิน ชาวบ้านสร้างเป็นโรงเรียนดิน เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนหนังสือ ที่นี่ มีนักเรียนทั้งหมด 15 คน และ ครู 3 คน โดยมีพื้นที่ทางธรรมชาติให้ศึกษาเรียนรู้การทำนาแบบขั้นบันได ในแบบวิถีของชุมชนที่เป็นอยู่ น่าเสียดายที่เราไม่ได้ไปชมนาขั้นบันไดเนื่องจากเวลาไม่พอ คงต้องกลับไปอีกสักครั้งหนึ่งแล้วแหละครับ
กินข้าวและพักผ่อนกับบรรยากาศบ้านๆ ชิลล์!! กันเรียบร้อย ก็ออกเดินทางจากบ้านห้วยพ่าน มุ่งสู่จุดหมายต่อครับ
ชุมชนบ่อสวก
จังหวัดน่าน
ชุมชนบ่อสวก
จังหวัดน่าน เป็นชุมชนที่เมื่องราวเครื่องปั้นดินเผามาอย่างยาวนาน โดยชุมชนบ่อสวกมีการขุดค้นผบเตาเผาโบราณที่มีอายุมากกว่า 700 ปี
ไปชม!! การทำเครื่องปั้นดินเผาตามภูมิปัญาของชาวบ่อสวก ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน
เสร็จกิจกรรมที่ชุมชนบ้านบ่อสวก เราก็เดินทางเข้าตัวจังหวัดน่านเพื่อแวะสักการะสิ่งศักสิทธิ์ที่วัดภูมินทร์ และ วัดพระธาตุช้างค้ำ ก่อนเดินทางกลับสู่ กรุงเทพฯ เป็นอันสิ้นสุดทริป!! แห่งความประทับใจในครั้งนี้
วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน
จิตรกรรมฝาผนัง ปูม่าน ย่าม่าน
วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองเมืองน่าน ได้สร้างขึ้นหลังจากครองนครน่านได้ 6 ปี มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์" ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ผู้สร้างวัด แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็น "วัดภูมินทร์" ในปัจจุบัน
วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อม นานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็น ชาดกในพุทธศาสนา ภาพเด่นของที่นี่คงหนีไม่พ้น ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน ผู้ชายสักหมึก ผู้หญิง แต่งกายไตลื้ออย่างเต็มยศ ภาพวาดของ หนุ่มสาวคู่นี้มีความประณีตมาก ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่ความงดงามดีเยี่ยมของวัดภูมินทร์
ชมความงดงามของวัดภูมินทร์เรียบร้อย เราก็เดินออกมาจากวัดอีกไม่ไกลเพื่อไปสู่จุดหมายสุดท้ายของเราที่วัดพระธาตุช้างค้ำ อีกหนึ่งวัดสำคัญของจ.น่าน
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ตั้งอยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ นับเป็น ปูชนียสถานสำคัญ ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์มีรูปปั้นช้างปูนปั้นเพียงครึ่งตัว ประดับอยู่โดยรอบรวม 24 เชือก องค์ระฆังแบบลังกา หุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์มีความสวยงามจริงครับ
นอกจากนี้ ยังมีพระพุทธรูปทองคำ ปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรี ศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬี ทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้างเมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎกใหญ่ที่สุดในประเทศ
สุดท้ายนี้ หวังว่าเพื่อนๆ จะมีความสุขกับการตะลุยเที่ยวล้านนาตะวันออกกับ กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว ในครั้งนี้ นะครับ^^ หากเพื่อนๆ มีโอกาสไปเยือนล้านนาตะวันออก ลองไปเที่ยวตามรอย กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว รับรองว่าจะได้สัมผัสวิถีชีวิตในอีกมุนมองหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยเลย...ในวันหยุดยาวๆ คราวหน้า วางแผนไปพักผ่อนเติมกำลังกายและใจกันนะครับ
ขอขอบคุณภาพสวยๆ บางส่วน จากเหล่าพี่ๆ ผู้น่ารักสมาชิกผู้ร่วมเดินทาง จากสังกัด Media&Blogger Club ทุกๆ ท่านนะครับ
กินแก้มตุ่ย ตะลุยเที่ยว ขอบคุณ
"สมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทย"
ตลอดทริปการเดินทางในครั้งด้วยนะครับ^^
"สมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทย"
ตลอดทริปการเดินทางในครั้งด้วยนะครับ^^